ตู้ฟักไข่มีประโยชน์อย่างไร
หลายคนคงสงสัยว่า ตู้ฟักไข่มีความจำเป็นและมีประโยชน์อย่างไร ทำไมถึงต้องใช้ตู้ฟักไข่ ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมอยู่มากมาย ทุกภาคทุกจังหวัด มีทั้งเกษตรผสมผสาน ทำไร่ทำสวน และเกษตกรผู้เลี้ยงไก่ไข่หรือเพาะพันธุ์ไก่ไข่ แต่ส่วนใหญ่แล้วชาวเกษตรกรจะเจอปัญหาในการที่แม่ไก่ไม่ยอมกกไข่ ซึ่งเป็นผลทำให้ไข่ไม่ฟัก จึงทำให้ไข่ไม่ฟักตามอัตราเท่าที่ควร และทำให้ได้ผลผลิตลดลง ซึ่งส่งผลต่อชาวเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่อยู่ไม่น้อย
ปัจจัยที่ทำให้การฟักไข่โดยธรรมชาติไม่เป็นผลมีอยู่หลายประการ
- การที่ได้เชื้อไข่ที่ดีจากพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ไก่ แต่ในกรณีที่แม่ไก่ไม่กกไข่ หรือไม่เขี่ยไข่ การฟักไข่ก็อาจไม่เป็นผล เพราะธรรมชาติของการฟักไข่แม่ไก่จะต้องกกไข่อย่างสม่ำเสมอ เพราะการกกไข่จะช่วยให้ลูกไก่ไม่ติดกับเปลือกไข่ และจะช่วยให้การฟักไข่ของลูกไก่ง่ายขึ้น
- สภาพอากาศที่เหมาะสมในการฟักไข่ สภาพอากาศเป็นปัจจัยที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการฟักไข่ อากาศที่แปรปรวน หนาวเกินไป ร้อนเกินไป หรือชื้นเกินไป สภาพอากาศเหล่านี้ จะส่งผลให้ไข่ฟักไม่ออกทั้งสิ้น ซึ่งต่างจากการฟักไข่โดยใช้ตู้ฟักไข่อย่างสิ้นเชิง
- สิ่งรบกวนจากภายนอก เช่น งูกินไข่ แม่ไก่แย่งกันกกไข่ ปัญหาไข่ร้าว ไข่แตก แม่ไก่ไข่ซ้อนกัน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้ไข่ฟักไม่เป็นผลทั้งสิ้น
การฟักไข่ด้วยตู้ฟักไข่ให้ผลผลิตอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไร
ประโยชน์ของการฟักไข่ด้วยตู้ฟักไข่นั้น มีอยู่หลายประการด้วยกัน ทั้งให้ผลผลิตที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ให้อัตราการฟักที่สูงขึ้น ไม่ต้องหว่งเรื่องสภาพอากาศ หรือแม่ไก่ไม่กกไข่ อุณหภูมิคงที่ ควบคุมความชื้นได้ด้วยการเติมน้ำ มีระบบพลิกไข่อัตโนมัติ สามารถใช้เพาะพันธุ์สัตว์ปิกได้หลายชนิด และยังสามาถใช้ตู้ฟักไข่ศึกษาสายพันธุ์สัตว์ปีกได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ประสิทธิภาพของการฟักไข่ จะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบ คือ อายุของแม่พันธุ์ไก่ สภาพแวดล้อม สภาพอาศบริเวณที่ตั้งตู้ฟักไข่ ความชื้น และอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่
สำหรับการฟักไข่ด้วยตู้ฟักไข่นั้น จะต้องมีปัจจัยในการฟัก ดังนี้
ความร้อน ความชื้น การระบายอากาศ และการกลับไข่
1. ความร้อน ความร้อนที่เหมาะสมต่อการฟักไข่ด้วยตู้ฟักไข่ที่สมํ่าเสมอช่วยให้เกิดอัตราการฟักที่สูงขึ้น
อุณภูมิที่เหมาะสมต่อการฟักไข่ควรมีอุณภูมิอยู่ที่ 37.8-38.5 C ซึ่งเป็นอุณหภูมิทํางานที่เหมาะสมในการทํางานของเครื่องฟักไข่ ถือเป็นอุณหภูมิที่ดีในสภาวะการฟักไข่ทั่วไป ใน 18 วันแรก ไม่ต้องทำการปรับค่าอุณภูมิใดๆ แต่ในช่วง 19-21 วัน ต้องทำการค่อยลดอุณหภูมิลงที่ 37.6 C เพื่อช่วยเพิ่มอัตราการเกิด เนื่องจากเวลาตัวอ่อนเริ่มมีขนาดใหญ่ จะทําให้อุณหภูมิของไข่ สูงขึ้นเล็กน้อย การลดอุณหภูมิจะเพิ่มผลิตผลของลูกไก่ให้ดีขึ้น แต่จะใช้ได้กับไข่ที่นําเข้าตู้ฟักระยะเวลาใกล้เคียงกันเท่านั้น หากทยอยนําไข่เข้าตู้ในระยะเวลาที่ต่างกัน ไม่ควรปรับอุณหภูมิใดๆ นอกจากจะมีตู้เกิดแยกต่างหาก หรือที่เรียกว่าตู้อนุบาล เพื่อนําไข่ที่มีอายุประมาณ 18 วันขึ้นไปย้ายไปที่ตู้เกิดที่มีสภาวะ อุณหภูมิ 37.6 C
2. ความชื้น ความชื้นได้จากการเติมน้ำภายในตู้ฟัก โดยการหยอดน้ำหรือใช้แก้วน้ำวางภายในตู้
ไข่ฟักในตู้ฟักตั้งแต่วันที่ 1-18 ของการฟัก ความชื้นที่พอเหมาะในระยะฟัก คือ ระหว่างความชื้นสัมพันธ์ 55-65% ไข่จะสูญความชื้นไปราว 8-10.5% ของนํ้าหนักไขความชื้นที่พอเหมาะ ช่วยให้เชื้อลูกไก่ เจริญเติบโตเป็นไปโดยปกติ เช่น การย่อยอาหารที่สะสมอยู่ในไข่ การดูดซึมอาหารไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ การเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆภายในไข่ให้เป็นไปโดยปกติ และเกี่ยวแก่การเจริญของกระดูกและร่างกาย
ในช่วงวันที่ 18-21 ความชื้นสัมพัทธ์ที่ 60-75% การสูญเสียความชื้นจากไข่ย่อมขึ้นอยู่กับอายุเก็บขนาดไข่ ลักษณะเปลือก และ บรรยากาศรอบๆ ไข่นั้น เมืองเราระยะต้นและกลางฤดูฟักไข่ (ตุลาคม-ปลายธันวาคม) ไม่ค่อยเป็นปัญหานัก พอเริ่มเข้าเดือนมกราคม การให้ความชื้นช่วยเป็นสิ่งจําเป็นมาก หากความชื้นน้อยไป อาจมีลูกไก่ตายมาก 10-80% ลูกไก่ขนแห้งติดเปลือกมากและมีจํานวนตายมาก ความชื้นนี้จําเป็นที่สุดในขณะที่ลูกไก่จวนจะออกจากไข่ ถ้าความชื้นพอดีก็จะช่วยให้ขนลูกไก่แห้ง ฟูสวยไม่ติดเปลือก
3. การระบายอากาศ การระบายอากาศจะช่วยในเรื่องของการให้ปริมาณออกซิเจน ช่วยแรก ไข่ไก่จะต้องการออกซิเจนน้อย แต่เมื่อฟักไปสักพัก ไข่จะต้องการออกซิเจนที่มากขึ้น ดังนั้น ตู้ฟักไข่จึงต้องมีช่องระบายอากาศและพัดลมช่วยในการระบายอากาศได้ดีขึ้นเพราะถ้าการระบายอากาศไม่ดี จะส่งผลถึงการเสียชีวิตของไข่ไก้ได้
4.การกลับไข่ สำหรับตู้ฟักไข่จะมีระบบเอียงไข่อัตโนมัติ ทุก 2 ชั่วโมง โดยเอียงซ้าย-ขวา ไป-กลับ 85 องศา มีระบบเอียงไข่ไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อลูกไก่แห้งติดเปลือกไข่ และช่วยลดจำนวนลูกไก่ตายไนระยะการฟักในวันแรกๆได้มาก
การพลิกไข่จะเป็นระบบอัตโนมัติ ทุก 2 ชั่วโมงจะมีเอียง ซ้ายขวา ตามรอบ
จะเห็นได้ว่าการฟักไข่ด้วยตู้ฟักไข่นั้นให้อัตราการฟักที่สูงมากๆ และไม่ได้ฟักได้แค่ไก่ไข่อย่างเดียว สามารถฟักได้ทั้งเป็ด ห่าน นกแก้ว นกกระทา ด้วยกระบวนการของตู้ฟักไข่ที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ลดอัตราการฟักที่ไม่เป็นผลได้อย่างมาก และยังเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้กับชาวเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ได้อย่างมหาศาล